ขั้นตอนที่ 1: ให้คลิกขวาตารางที่ต้องการนำข้อมูลเข้าระบบ จากนั้นคลิก Import Data.
ขั้นตอนที่ 2: เลือกไฟล์ (XLS) ที่ต้องการนำเข้า (สามารถใช้ .XLSX หรือ .CSV ก็ได้)
ขั้นตอนที่ 3: ตรวจดูข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่
จากข้อมูลจะเห็นว่ามีหัวข้อในไฟล์ Excel ปรากฏอยู่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราไม่ต้องการนำบรรทัดดังกล่าวเข้าระบบ ให้ทำการเลือก "Header" ออกแล้วดูข้อมูลอีกครั้งจะเห็นว่าหัวข้อดังกล่าวหายไป. นอกจากนั้นในบางครั้งเราอาจจะไม่ต้องการนำข้อมูลเข้าระบบทั้งหมด เราสามารถกำหนดได้ว่าเราจะเริ่มดึงข้อมูลตั้งแต่บรรทัดไหนในช่อง "Skip Rows".
ขั้นตอนที่ 4: เลือกรูปแบบการข้อมูลที่จะนำเข้าให้เลือก Insert พร้อมระบุชื่อตารางในช่อง Table Name.
ขั้นตอนที่ 5: เลือก Excel column ที่ต้องการ เพราะในบางครั้งเราอาจจะมี column มากมายแต่มีไม่กี่ column ที่จะนำเข้า พร้อมกับจัดเรียง column ตามลำดับที่ต้องการให้ถูกต้อง.
ขั้นตอนที่ 6: ทำการจับคู้ Excel column กับ Table column ว่า Excel column ไหนคู่กับตัวไหนในฐานข้อมูล พร้อมกำหนดประเภทข้อมูลให้ถูกต้องด้วย.
ขั้นตอนที่ 7: ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ให้คลิกปุ่ม "verify"
เพื่อตรวจความผิดพลาด ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นเรื่องของ วันที่ ที่ผิดพลาดมากที่สุดเพราะรูปแบบไม่ค่อยตรงกัน เพราะฉะนั้นหากเจอปัญหาดังกล่าวให้ย้อนขั้นตอนไปแก้รูปแบบวันที่ที่จะนำเข้า.
ขั้นตอนที่ 8: ให้คลิกปุ่ม "Finish" เพื่อเสร็จสิ้นการนำเข้าข้อมูล.
ขั้นตอนที่ 9: ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้ามา
อ้างอิง : ที่นี่
0 comments:
Post a Comment