ขั้นตอน การติดตั้ง ubuntu 9.04

ความต้องการของระบบ
Processor: 1ghz ขึ้นไป
Memory: 512MB (แนะนำให้ 1GB ขึ้นไป)
Disk: พื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 8GB
ขั้นตอนการติดตั้ง

ขั้นตอนที่ 1 ให้ใช้ลูกศรบนแป้นคีย์บอร์ดเลือกภาษา English แล้วกด Enter
ขั้นตอนที่ 2ให้ใช้ลูกศรบนแป้นคีย์บอร์ดเลือกที่ Install Ubuntu แล้วกด Enter

ขั้นตอนที่ 3 ให้เลือกภาษา English ตามรูป แล้วกดปุ่ม Forward

ขั้นตอนที่ 4 ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือก Time zone ให้เลือก Region เป็น Asia และ City เป็น Bangkok ตามภาพด้านล่าง จากนั้นกดที่ปุ่ม Forward เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 ในในขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกรูปแบบคีย์บอร์ด โดยให้เราทำการเลือกรูปแบบ Thailand ตามภาพด้านล่างและสามารถลองทดสอบพิมพ์ข้อความ จากนั้นกดที่ปุ่ม Forward เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 6 ในขั้นตอนนี้จะเป็นการแบ่งพาร์ทิชันซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ การแบ่งพาร์ทิชันโดยใช้ทั้งฮาร์ดดิสก์ (Use the entire disk) และการแบ่งพาร์ทิชั่นแบบกำหนดเอง (Specify partitions manually (advance))
วิธีที่ 1 การแบ่งพาร์ทิชันโดยใช้ทั้งฮาร์ดดิสก์ (Use the entire disk) วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายมาก เนื่องจากระบบจะทำการแบ่งพาร์ทิชันให้เองอัตโนมัติ โดยให้เราทำการเลือกที่หัวข้อ Use the entire disk ตามภาพด้านล่าง จากนั้นกดที่ปุ่ม Forward เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

วิธีที่ 2 การแบ่งพาร์ทิชันแบบกำหนดเอง (Specify partitions manually (advance)) วิธีนี้จะเป็นการแบ่งพาร์ทิชันโดยที่เราเป็นคนกำหนดขนาดเนื้อที่เอง โดยเราจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลินุกซ์นั้น มีส่วนที่แตกต่างจากระบบปฏิบัติการวินโดว์สคือ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์จะมีการใช้ระบบไฟล์ที่แตกต่างไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ระบบปฏิบัติการวินโดว์สจะใช้ระบบไฟล์ที่เรียกว่า NTFS ในขณะที่ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ใช้ระบบไฟล์ที่เรียกว่า Ext3 นอกจากการใช้ระบบไฟล์ที่แตกต่างกันแล้ว องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานของระบบก็แตกต่างกันไปด้วยคือ
• ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส สามารถใช้พาร์ทิชันเพียงพาร์ทิชันเดียวในการทำงาน (เช่น มีเพียงไดรฟ์ C ก็ได้)
• ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ จำเป็นต้องมีพาร์ทิชันหลักเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ (โดยจะต้องมีระบบไฟล์เป็น Ext4) และ Swap พาร์ทิชัน (โดยจะต้องมีระบบไฟล์เป็น Swap) เพื่อใช้ช่วยในระหว่างการทำงาน ซึ่ง Swap พาร์ทิชันนี้จะถูกใช้ในระหว่างขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ด้วยเหตุผลของประสิทธิภาพ และโครงสร้างทางเทคนิคต่าง ๆ ของระบบ
ด้วยโครงสร้างดังกล่าวทำให้ในการติดตั้ง เพื่อใช้งานระบบปฏิบัติการลินุกซ์ จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างพาร์ทิชันต่าง ๆ 2 ชนิด นั่นคือ
1. Ext3 ซึ่งเป็นชนิดไฟล์ของพาร์ทิชันหลักของระบบ ใช้สำหรับจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งขนาดขั้นควรจะอยู่ที่ 7 GB ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับลักษณะและจุดประสงค์ในการใช้งาน)
2. Swap ซึ่งเป็นชนิดไฟล์ของ Swap พาร์ทิชัน ที่ใช้สำหรับเป็นส่วนช่วยในระหว่างการทำงาน เช่น ใช้เป็นจุดพักข้อมูลในขณะประมวลผล หรือข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการบันทึกขนาดที่เหมาะสมควรมีขนาดเป็น 2 เท่าของจำนวน Ram (แต่สำหรับเครื่องที่มี RAM เยอะอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเผื่อพื้นที่ไว้ถึง 2 เท่าของ RAM ก็ได้)
ขั้นตอนที่ 1 ให้เราทำการเลือกที่หัวข้อ Specify partitions manually (advance) ตามภาพด้านล่าง จากนั้น กดที่ปุ่ม Forward เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 ให้คลิ๊กที่ปุ่ม New Partition Table จากนั้นกดปุ่ม Continue เพื่อทำการสร้างพาร์ทิชันขึ้นมาใหม่ (เฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่ยังไม่เคยผ่านการแบ่งพาร์ทิชัน)

จากนั้นเราก็จะได้พาร์ทิชันขึ้นมาใหม่ ซึ่งในที่นี้มีความจุที่ 8589 MB โดยเราจะทำการแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทิชัน โดยให้เราไปคลิ๊กเลือกที่ free space ก่อน จากนั้นกดที่ปุ่ม New partition

เมื่อกดปุ่ม New partition แล้ว จะมี Dialog box ขึ้นมาให้เรากำหนดค่าต่างๆ ดังนี้
Type for the new partition : ให้เลือกเป็น Primary
New partition size in megabytes (1000000 bytes) : ให้แบ่งตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ในที่นี้กำหนดให้มีขนาด 7589 MB จาก 8589 MB โดยเราจะเหลือไว้แบ่งให้เป็น Swap ด้วย
Location for the new partition : ให้เลือกเป็น Beginning
Use as : ให้เลือกเป็น Ext3 journaling file system (ปกติจะกำหนดมาเป็น Ext3 ไว้อยู่แล้ว)
Mount point : ให้เลือกเป็น /
เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จากนั้นกดปุ่ม OK

เราจะเห็นว่ามันได้ทำการแบ่งเป็นพาร์ทิชัน Ext3 ให้แล้ว ทีนี้เราจะมาทำการสร้างพาร์ทิชัน Swap กัน โดยให้เราไปคลิ๊กเลือกที่ free space ก่อน จากนั้นกดที่ปุ่ม New partition

เมื่อกดปุ่ม New partition แล้ว จะมี Dialog box ขึ้นมาให้เรากำหนดค่าต่างๆ ดังนี้
Type for the new partition : ให้เลือกเป็น Logical
New partition size in megabytes (1000000 bytes) : ให้แบ่งตามความเหมาะสมกับการใช้งานนะครับ ในที่นี้กำหนดให้มีขนาดจากพื้นที่ที่เหลือทั้งหมด ซึ่งก็คือ 995 MB
Location for the new partition : ให้เลือกเป็น Beginning
Use as : ให้เลือกเป็น swap area
Mount point : ไม่ต้องเลือก

เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จากนั้นกดปุ่ม OK
เราจะเห็นว่ามันได้ทำการแบ่งเป็นพาร์ทิชัน swap ให้แล้ว จากนั้นกดที่ปุ่ม Forward เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 7 เป็นการกำหนดค่าของผู้ใช้ระบบ
ช่องที่ ๅ ระบบจะถามว่า “What is your name?” ให้ใส่ชื่อของเรา โดยห้ามขึ้นต้นด้วยหมายเลขและต้องเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็ก ในที่นี้จะใส่ว่า student
ช่องที่ 2 ระบบจะถามว่า “What name do you want to use to log in?” โดยส่วนนี้จะเป็นชื่อที่เราใช้ในการ log in เพื่อเข้าสู่ระบบ ระบบจะตั้งให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าหากเราต้องการตั้งชื่อเครื่องเป็นชื่ออื่นก็สามารถแก้ไขได้
ช่องที่ 3 เป็นการตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งาน โดยช่องถัดไปต้องเหมือนกันด้วย
ช่องที่ 4 เป็นการตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยทางระบบจะตั้งให้อัตโนมัติ ซึ่งถ้าหากเราต้องการตั้งชื่อเครื่องเป็นชื่ออื่นก็สามารถแก้ไขได้
เมื่อกำหนดค่าของผู้ใช้ระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราเลือก Log in automatically เพื่อจะให้ระบบเข้าใช้งานอัตโนมัติ หากต้องการให้ระบบถามชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านก่อนเข้าใช้ระบบ ให้ติ๊กเลือกหัวข้อ Require my password to log in จากนั้นกดที่ปุ่ม Forward เพื่อทำขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 8 กดที่ปุ่ม Install เพื่อทำการติดตั้ง

ในส่วนนี้ระบบจะทำการติดตั้งให้อัตโนมัติซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 30 นาที ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องที่ทำการติดตั้ง

ขั้นตอนที่ 9 เมื่อระบบทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะขึ้น Dialog box แจ้งเตือน ให้เราคลิ๊กที่ปุ่ม Restart Now เพื่อทำการเริ่มระบบใหม่

เมื่อเข้าสู่หน้านี้ ระบบจะทำการแจ้งเตือนว่าให้นำแผ่นที่ใช้ติดตั้งออก หากเอาออกแล้วให้กดปุ่ม ENTER ครับ (Please remove installation media and close the tray (if any) then press ENTER : ) โดยระบบจะทำการนำแผ่นติดตั้งออกมาให้อัตโนมัติครับ ให้เรานำแผ่นติดตั้งออกมา แล้วกดปุ่ม ENTER ครับ (สำหรับใครที่ไม่ได้ใช้แผ่นติดตั้งแต่อาจใช้วิธีอื่นเช่น ใช้ แฟลชไดรฟ์ หรือใช้ PXE ในการติดตั้ง ให้กดปุ่ม ENTER ได้เลยครับ) หลังจากนั้น ระบบจะทำการเริ่มระบบใหม่

นี่คือหน้าตา Ubuntu 9.04 หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว

อ้างอิง : http://paiboon15721.wordpress.com/

About Nop

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment

0 comments:

Post a Comment