10 สิ่งที่ควรทำหลังจากอัพเกรด Window 10

บทความก่อนหน้านี้เราได้รู้วิธี  การอัพเกรด Window 7, 8, 8.1 เป็น Window 10 แล้ว เมื่อเราทำการอัพเกรดเรียบร้อยแล้วอาจจะต้องมีการปรับแต่งค่าต่างๆ เพื่อให้เครื่องมีความเสถียรมากขึ้น ปิดการทำงานต่างๆที่ไม่จำเป็นเพื่อลดการใช้งานทรัพยากรของเครื่อง และเพื่อปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานของต่ละคนให้มากที่สุด งั้นเรามาดูวิธีการต่างๆดังกล่าวกันเลยครับ

หมายเหตุ : การไปที่หน้า Setting ให้ทำตามดังรูป

เรื่องที่ 1 : ปิดการ Sync ต่างๆที่ไม่จำเป็น
    เนื่องจาก window 10 สามารถใช้ได้กับเครื่องหลายๆแบบทั้ง Desktop, Mobile, Tablet และอื่นๆ หากเราทำการเปิด Sync ไว้จะมีประโยชน์ตอนเล่น Window ข้ามเครื่องครับ ระบบสามารถ Sync ข้อมูลระหว่างเครื่องเวลาติดตั้งในเครื่องแบบอื่นๆให้เรา หากเราคิดว่าไม่ได้ใช้งาน Window นอกจากเวอร์ชั่น Desktop แนะนำให้ผู้ใช้ปิดการ Sync ครับโดยไปที่ Startup Menu > Setting >Accounts > Sync your settings และ ปิดการใช้งานในส่วนของ Sync settings



เรื่องที่ 2 : ติดตั้ง Apps ต่างๆ
โดยปกติหากเราอัพเกรดมาแล้วโปรแกรมต่างๆก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ครับ แต่ถ้าหากเราอยากติดตั้งโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเติม ก็สามารถติดตั้งได้ครับโดย ไปที่ Window Store

และเลือกติดตั้งโปรแกรมต่างๆได้


เรื่องที่ 3 : ปักหมุดหน้าตั้งค่าต่างๆที่ใช้งานบ่อย
ในบางครั้งเราอาจจะต้องเข้าไปตั้งค่า เปลี่ยนแปลงค่าต่างๆบ่อยครั้ง หรือเรียกใช้โปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งบ่อยๆ เพื่อความสะดวกเราสามารถปักหมุดหน้าตั้งค่าหรือโปรแกรมนั้นๆได้ครับ
กรณีต้องการปักหมุดไปที่ Task bar

กรณีต้องการปักหมุดไปที่ Startup


เรื่องที่ 4 : ลบไฟล์ขยะต่างๆที่ไม่จำเป็นและไม่ใช้แล้วเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งาน
หลังจากที่เราติดตั้ง Window 10 เราจะได้พื้นที่คืนอยู่หลาย GB เลยครับเพราะ Window 10 ใช้พื้นที่น้อยกว่า Window 7,8 หรือ 8.1 และเราก็จะทำการลบค่า Configure เก่าๆของระบบที่ไม่ใช้แล้วครับ โดยให้ทำดังรูป



เรื่องที่ 5 : ปรับแต่งค่า File Explorer
โดยปกติเวลาเราเปิด File Explorer ระบบจะเปิดหน้า Quick access ขึ้นมาครับ ซึ่งหน้า Quick access จะแสดงไฟล์และโปรเดอร์ต่างๆที่เราใช้บ่อยและเพิ่งใช้งานมาแสดง

เราสามารถเปลี่ยนหน้าของ File Explorer เป็นหน้าที่เราค้นเคยได้ครับ โดยไปที่ File Explorer > View > Options

1 : เลือก This PC เพื่อเวลาคลิกที่ File Explorer ระบบจะได้เปิดหน้า This PC เป็นหน้า Default
2 : ทำการเชคออกหากไม่ต้องการให้ไฟล์ล่าสุดที่เราเรียกใช้งานแสดงใน Quick access
3 : ทำการเชคออกหากไม่ต้องการให้โฟรเดอร์ล่าสุดที่เราเรียกใช้งานแสดงใน Quick access
4 : กด OK

เรื่องที่ 6 : ปรับแต่ง Task bar
ตอนเข้ามาครั้งแรกจะสังเกตว่า หากเราไม่ได้ตั้งค่า Task bar ตัว Task bar จะมีขนาดใหญ่มากดูเทอะทะไม่สมส่วน อีกอย่างสามารถปักหมุดโปรแกรมต่างๆได้น้อย ดังนั้นเราจึงต้องปรับให้มันเล็กลงครับ โดยให้คลิกขวาที่ Task bar > Properties ครับ
1 : เชคถูกเพื่อทำให้ Task bar มีขนาดเล็กลง
2 : สามารถเลือกเปลี่ยนตำแหน่งของ Task bar ได้
3 : กดปุ่ม OK

เรื่องที่ 7 : ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ในการตั้งตั้งค่าความเป็นส่วนตัวคือการปิดการทำงานหรือเปิดการทำงานต่างๆของเครื่อง เพื่อกำหนดให้ apps ต่างๆสามารถเข้าถึงหรือปิดการเข้าถึงทรัพยากรเครื่องได้ หากต้องการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้ไปที่ Startup Menu > Setting >Privacy
  1. General : เป็นเรื่องทั่วไป เกี่ยวกับการการอนุญาตให้ Apps ต่างๆเข้าใช้ ID ของเรา
  2. Location : เป็นการกำหนดให้เครื่องสามารถระบุตำแหน่งของเครื่องได้ ถ้าเปิดอยู่แนะนำให้ปิดครับ เพราะผู้ไม่ประสงค์ดีอาจจะทำการ Tracking ติดตามที่อยู่เราได้
  3. Camera : เป็นการอนุญาตการเข้าถึงกล้องของ Apps ต่างๆเราสามารถปิดการเข้าถึงกล้องได้ครับ หรือเปิดไว้แต่ อนุญาตเฉาะบาง apps ก็ได้เช่นกัน
  4. Microphone : เป็นการอนุญาตการเข้าถึงไมโครโฟนในเครื่องของ Apps ต่างๆเราสามารถปิดการเข้าถึงไมโครโฟนได้หรือเปิดไว้แต่ อนุญาตเฉาะบาง apps ก็ได้เช่นกัน
  5. Speech,inking,& typing : เป็นการปิดเปิดการทำงานของตัวค้นหารวมทั้ง Cortana ด้วย (ไอคอนค้นหาที่ Task bar)
  6. Account info : เป็นการกำหนดให้ Apps ต่างๆสามารถเข้าใช้ชื่อของเรา รูป และอื่นๆ หากไม่ต้องการสามารถปิดการเข้าถึงได้
  7. Contacts : เป็นการอนุญาตการเข้าถึงชื่อผู้ติดต่อ เช่น email ต่างๆที่เรามีอยู่ของ Apps ต่างๆเราสามารถปิดการเข้าถึงได้ครับ หรือเปิดไว้แต่ อนุญาตเฉาะบาง apps ก็ได้เช่นกัน
  8. Calendar : เป็นการอนุญาตการเข้าถึงปฏิทินของ Apps ต่างๆเราสามารถปิดการเข้าถึงปฏิทินได้ครับ หรือเปิดไว้แต่ อนุญาตเฉาะบาง apps ก็ได้
  9. Messaging : เป็นการอนุญาตการเข้าถึงข้อความหรือ MMS ของ Apps ต่างๆเราสามารถปิดการเข้าถึงข้อความหรือ MMSได้ครับ หรือเปิดไว้แต่ อนุญาตเฉาะบาง apps ก็ได้
  10. Radios : เป็นการอนุญาตการเข้าถึงเสียงของ Apps ต่างๆเราสามารถปิดการเข้าถึงเสียงได้ครับ หรือเปิดไว้แต่ อนุญาตเฉาะบาง apps ก็ได้เช่นกัน
  11. Other devices : การแชร์ทรัพยากรกับอุปกรณ์อื่นๆ
  12. Feedback & diagnostics : กำหหนดรูปแบบการส่งข้อมูลกลับไปยัง Microsoft ไม่ว่าจะเป็นปัญหาต่างๆระหว่างใช้เครื่องหรือข้อมูลของเครื่องบางอย่าง
  13. Background apps : เปิดปิดการทำงานข้างหลังของ apps ต่างๆ แนะนำให้ปิด apps ที่ไม่จำเป็นเพื่อลดการบริโภคทรัพยากรของเครื่อง

เรื่องที่ 8 : การเปลี่ยนพื้นหลัง Desktop, พื้นหลังหน้า Login 
หลังจากการอัพเกรดพื้นหลังต่างๆก็ยังคงเป็นค่าเดิมครับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ถ้าหากต้องการ เปลี่ยนพื้นหลังก็สามารถทำได้ครับ โดยให้ไปที่ Startup Menu > Setting >Personalization
 เปลี่ยนพื้นหลัง

เปลี่ยนสี File Explorer แบบสุ่มอัตโนมัติ

เปลี่ยนสี File Explorer แบบกำหนดเอง

เปลี่ยนพื้นหลังหน้า Lock Screen


เรื่องที่ 9 : ตั้งค่า Default Apps ต่างๆ
ค่า Default Apps คือค่าปริยายเวลาทำการเปิดไฟล์ต่างๆ เช่น หากเราต้องการดูหนังแล้ว มีโปรแกรมที่สามารถเล่นหนังได้หลายๆโปรแกม เราสามารถตั้งค่าได้ว่าจะใช้โปรแกรมไหนเป็นค่า Default เพื่อเล่นหนังดังกลาวครับ โดยไปที่ Startup Menu > Setting > System > Default apps

เรื่องที่ 10 : Rollback ระบบ (กรณีระบบมีปัญหาเท่านั้น)
การRollback ระบบ คือการย้อนระบบกลับไปเวอร์ชั่นก่อนหน้านั้นในกรณีระบบมีปัญหา โดยให้ไปที่
Startup Menu > Setting > Update & Security

About Nop

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment

0 comments:

Post a Comment